วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์


สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร ?สุนทรียะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทางตา หู จมูก กายในการรับรู้วัตถุหรือสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น เสียง เมื่อเกิดการรับรู้สมองจะแยกแยะและรับเอาสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดมาเก็บไว้ในคลังสมอง ในขั้นนี้เราจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจ ประทับใจหรือเกิดความรู้สึกต่อสิ่งที่สัมผัสนั้นว่า น่ารัก สวยงาม น่าเสน่ห์ ถ้าคุณเกิดความรู้สึกเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าคุณกำลังเริ่มต้นเกิดความรู้สึกสุนทรียะ สุนทรียเป็นสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินหรือความสะเทือนใจแก่มนุษย์ผู้สัมผัส อาจปรากฏอยู่ในธรรมชาติหรือในผลงานศิลปะที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นก็ได้ เช่น ผลงานทัศนศิลป์ ทั้งที่อยู่ในขอบเขตงานวิจิตรศิลป์และงานประยุกต์ศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง เช่น การฟ้อนรำ บัลเลห์ หมอลำ ลำตัดหรือการแสดงพิ้นบ้านในลักษณะอื่น ๆ การเป็นผู้ที่สามารถรับสัมผัสในสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เราเพลิดเพลินหรือสะเทือนใจได้อย่างรวดเร็วจะสร้างให้เราเป็นคนที่ประณีต ละเอียดอ่อน รู้จักเคารพและศรัทธาในความคิด ความรู้ ศิลธรรม ความดีของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้เราต้องร่ามกันปลูกฝังให้เยาวชนเป็นผู้ที่มีสุนทรียะ หรือที่รู้จักก็คือความงาม เพื่อทำให้โลกมีความสันติสุข ฮยู่กันอย่างสงบ เข้าใจเขาเข้าใจเราและเข้าใจความแตกต่างของความเป็นมนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมสุนทรียะมีจุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ว่าเมื่อรับรู้แล้วเกิดความสุขใจ นั่นคือการเกิดผลทางใจในด้านความสงบนั่นเอง
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างไร ? ในวิชาชีพพยาบาลทุกคนจะได้รับการสอนเสมอว่า วิชาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานกับบุคคลซึ่งอยู่ในภาวะเจ็บป่วยโดยต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการให้การพยาบาล นั่นหมายถึง ผู้ป่วยเป็นบุคคลซึ่งมีจิตใจ มีความรู้สึก กลัวการเจ็บป่วย กลัวการตาย ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพก่อน ต้องรักในวิชาชีพพยาบาลและมีความตั้งใจในการให้การพยาบาล เข้าใจความรู้สึก และเห็นใจผู้ป่วย และให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวลพร้อมกับให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพ มีเหตุและผล ร่วมกับใช้ความรู้ ศาสตร์และศิลป์ควบคู่ไปด้วยกัน และสามารถมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคน พยาบาลทุกท่านต้องทำความเข้าใจและให้การพยาบาลแตกต่างกันออกไป การปฏิบัติงาน และการให้การพยาบาลต่อผู้ป่วยเหล่านั้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือเกิดความภาคภูมิใจและทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น: