วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ความงามของศิลปกรรมในรูปแบบสถาปัตยกรรม


Friedensreich Hundertwasser สถาปนิกและศิลปิน ชาวออสเตรเลีย ซึ่งมีผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดความสวยงามของธรรมชาติออกมาในรูปแบบของ " Vegetative Painting " อันเป็นแนวคิดจากความงามของธรรมชาติ โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีการเติบโตเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ซึ่งแนวคิดนี้เขายังนำไปใช้กับงานออกแบบสถาปัตยกรรมทุกชิ้นของเขาด้วย รวมถึงพิพิธภัณฑ์ KunstHausWien ที่สร้างขึ้นในปีค.ศ.1892 เพื่อเป็นโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ก็ใช้เวลากว่า 3 ปี ในการปรับปรุงและก่อสร้างใหม่ จนเปิดใช้งานอีกครั้งเมื่อต้นปี ค.ศ.1991 สำหรับเป็นที่แสดงงานถาวรของ Hunbderwasser และเป็นที่จัดแสดงงานศิลปะระดับชาติอื่นๆ ด้วย ก้าวแรกที่เดินเข้าไปภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ ก็จะเห็นความแปลกตาโดดเด่น เริ่มตั้งแต่ป้ายอาคารที่ตั้งคร่อมอยู่บนทางเท้าคล้ายเป็นประตูชัย ไปจนถึงสวนด้านในที่ร่มรื่นน่านั่งและตัวอาคารที่ตกแต่งด้วยกระเบื้องสีในลวดลายแฟนตาซี ซึ่งเหมือนกับเดินเข้าสู่ดินแดนในเทพนิยาย
แนวคิดในการออกแบบทั้งหมดนี้ Hunbderwasser ได้มาจากแนวคิดที่ว่า " มนุษย์ถูกห่อหุ้ม ด้วยชั้นของผิวถึงสามชั้น อันได้แก่ หนึ่ง ผิวหนัง สอง เสื้อผ้ากับกำแพง และสาม ตัวอาคาร ซึ่งเสื้อผ้ากับกำแพงนั้นได้มีวิวัฒนาการไปตามกาลเวลา จนกระทั่งไม่ตอบสนองต่อความต้องการตามธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์ ดังเช่นรูปทรงของอาคารทั่วไปในปัจจุบันที่เป็นทางเรขาคณิต " ด้วยเหตุนี้ เขาจึงออกแบบงานสถาปัตยกรรมของเขาให้ผนังอาคารมีลักษณะเป็นคลื่น ใช้กระเบื้องโเสกในการตกแต่งและลวดลายตารางก็บิดเบือนให้แปลกออกไปจากระบบของอาคารทั่วๆไป เพื่อแสดงความสวยงามตามธรรมชาติที่มนุษย์มองข้ามไปนั่นเอง
นอกจากตัวอาคารแล้ว พื้นทางเดินภายใน พิพิธภัณฑ์ KunstHausWien ยังมีลักษณะเป็นคลื่นด้วยเช่นกัน Hunbderwasser อธิบายว่า " พื้นเรียบนั้นเป็นการคิดค้นของสถาปนิก ซึ่งเหมาะกับเครื่องจักรมากกว่ามนุษย์ " ส่วนพื้นที่มีลักษณะเป็นคลื่นนั้นเปรียบเสมือนจิตวิญญาณและความสมดุลที่มีอยู่ในธรรมชาติ "สถาปัตยกรรมควรที่จะส่งเสริมมนุษย์ ไม่ใช่ควบคุมมนุษย์" ดังนั้นการออกแบบพื้นภายในพิพิธภัณฑ์เป็นลักษณะเป็นคลื่นจึงทำให้ผู้มาเยี่ยมชมสามารถปรับความสมดุลของธรรมชาติที่ขาดหายไปให้กลับมาอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น: