
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
มารู้จักกันดีกว่า...
ความงามของศิลปกรรมในรูปแบบสถาปัตยกรรม


แนวคิดในการออกแบบทั้งหมดนี้ Hunbderwasser ได้มาจากแนวคิดที่ว่า " มนุษย์ถูกห่อหุ้ม ด้วยชั้นของผิวถึงสามชั้น อันได้แก่ หนึ่ง ผิวหนัง สอง เสื้อผ้ากับกำแพง และสาม ตัวอาคาร ซึ่งเสื้อผ้ากับกำแพงนั้นได้มีวิวัฒนาการไปตามกาลเวลา จนกระทั่งไม่ตอบสนองต่อความต้องการตามธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์ ดังเช่นรูปทรงของอาคารทั่วไปในปัจจุบันที่เป็นทางเรขาคณิต " ด้วยเหตุนี้ เขาจึงออกแบบงานสถาปัตยกรรมของเขาให้ผนังอาคารมีลักษณะเป็นคลื่น ใช้กระเบื้องโเสกในการตกแต่งและลวดลายตารางก็บิดเบือนให้แปลกออกไปจากระบบของอาคารทั่วๆไป เพื่อแสดงความสวยงามตามธรรมชาติที่มนุษย์มองข้ามไปนั่นเอง
นอกจากตัวอาคารแล้ว พื้นทางเดินภายใน พิพิธภัณฑ์ KunstHausWien ยังมีลักษณะเป็นคลื่นด้วยเช่นกัน Hunbderwasser อธิบายว่า " พื้นเรียบนั้นเป็นการคิดค้นของสถาปนิก ซึ่งเหมาะกับเครื่องจักรมากกว่ามนุษย์ " ส่วนพื้นที่มีลักษณะเป็นคลื่นนั้นเปรียบเสมือนจิตวิญญาณและความสมดุลที่มีอยู่ในธรรมชาติ "สถาปัตยกรรมควรที่จะส่งเสริมมนุษย์ ไม่ใช่ควบคุมมนุษย์" ดังนั้นการออกแบบพื้นภายในพิพิธภัณฑ์เป็นลักษณะเป็นคลื่นจึงทำให้ผู้มาเยี่ยมชมสามารถปรับความสมดุลของธรรมชาติที่ขาดหายไปให้กลับมาอีกครั้ง
สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างไร ? ในวิชาชีพพยาบาลทุกคนจะได้รับการสอนเสมอว่า วิชาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานกับบุคคลซึ่งอยู่ในภาวะเจ็บป่วยโดยต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการให้การพยาบาล นั่นหมายถึง ผู้ป่วยเป็นบุคคลซึ่งมีจิตใจ มีความรู้สึก กลัวการเจ็บป่วย กลัวการตาย ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพก่อน ต้องรักในวิชาชีพพยาบาลและมีความตั้งใจในการให้การพยาบาล เข้าใจความรู้สึก และเห็นใจผู้ป่วย และให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวลพร้อมกับให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพ มีเหตุและผล ร่วมกับใช้ความรู้ ศาสตร์และศิลป์ควบคู่ไปด้วยกัน และสามารถมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคน พยาบาลทุกท่านต้องทำความเข้าใจและให้การพยาบาลแตกต่างกันออกไป การปฏิบัติงาน และการให้การพยาบาลต่อผู้ป่วยเหล่านั้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือเกิดความภาคภูมิใจและทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)