วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

มารู้จักกันดีกว่า...


เรื่องส่วนตั๊ว... ส่วนตัว...

ปัจจุบัน ชื่อ รัชณู เหลืองอร่าม (จุ๊บจุ๊บ)

ขณะนี้กำลังศึกษา ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์(ต่อเนื่อง) รุ่นที่ 16 นะคะ

เป็นบุตร คนโต มีน้องสาว 1 คน ค่ะ

สถานที่ทำงาน อยู่โรงพยาบาลโพธาราม

เริ่มทำงานตั้งแต่ปี 2543 ทายเองนะคะว่าตอนนี้อายุเท่าไหร่

เมื่อ...วันวาน

คือเรา

ความงามของศิลปกรรมในรูปแบบสถาปัตยกรรม


Friedensreich Hundertwasser สถาปนิกและศิลปิน ชาวออสเตรเลีย ซึ่งมีผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดความสวยงามของธรรมชาติออกมาในรูปแบบของ " Vegetative Painting " อันเป็นแนวคิดจากความงามของธรรมชาติ โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีการเติบโตเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ซึ่งแนวคิดนี้เขายังนำไปใช้กับงานออกแบบสถาปัตยกรรมทุกชิ้นของเขาด้วย รวมถึงพิพิธภัณฑ์ KunstHausWien ที่สร้างขึ้นในปีค.ศ.1892 เพื่อเป็นโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ก็ใช้เวลากว่า 3 ปี ในการปรับปรุงและก่อสร้างใหม่ จนเปิดใช้งานอีกครั้งเมื่อต้นปี ค.ศ.1991 สำหรับเป็นที่แสดงงานถาวรของ Hunbderwasser และเป็นที่จัดแสดงงานศิลปะระดับชาติอื่นๆ ด้วย ก้าวแรกที่เดินเข้าไปภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ ก็จะเห็นความแปลกตาโดดเด่น เริ่มตั้งแต่ป้ายอาคารที่ตั้งคร่อมอยู่บนทางเท้าคล้ายเป็นประตูชัย ไปจนถึงสวนด้านในที่ร่มรื่นน่านั่งและตัวอาคารที่ตกแต่งด้วยกระเบื้องสีในลวดลายแฟนตาซี ซึ่งเหมือนกับเดินเข้าสู่ดินแดนในเทพนิยาย
แนวคิดในการออกแบบทั้งหมดนี้ Hunbderwasser ได้มาจากแนวคิดที่ว่า " มนุษย์ถูกห่อหุ้ม ด้วยชั้นของผิวถึงสามชั้น อันได้แก่ หนึ่ง ผิวหนัง สอง เสื้อผ้ากับกำแพง และสาม ตัวอาคาร ซึ่งเสื้อผ้ากับกำแพงนั้นได้มีวิวัฒนาการไปตามกาลเวลา จนกระทั่งไม่ตอบสนองต่อความต้องการตามธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์ ดังเช่นรูปทรงของอาคารทั่วไปในปัจจุบันที่เป็นทางเรขาคณิต " ด้วยเหตุนี้ เขาจึงออกแบบงานสถาปัตยกรรมของเขาให้ผนังอาคารมีลักษณะเป็นคลื่น ใช้กระเบื้องโเสกในการตกแต่งและลวดลายตารางก็บิดเบือนให้แปลกออกไปจากระบบของอาคารทั่วๆไป เพื่อแสดงความสวยงามตามธรรมชาติที่มนุษย์มองข้ามไปนั่นเอง
นอกจากตัวอาคารแล้ว พื้นทางเดินภายใน พิพิธภัณฑ์ KunstHausWien ยังมีลักษณะเป็นคลื่นด้วยเช่นกัน Hunbderwasser อธิบายว่า " พื้นเรียบนั้นเป็นการคิดค้นของสถาปนิก ซึ่งเหมาะกับเครื่องจักรมากกว่ามนุษย์ " ส่วนพื้นที่มีลักษณะเป็นคลื่นนั้นเปรียบเสมือนจิตวิญญาณและความสมดุลที่มีอยู่ในธรรมชาติ "สถาปัตยกรรมควรที่จะส่งเสริมมนุษย์ ไม่ใช่ควบคุมมนุษย์" ดังนั้นการออกแบบพื้นภายในพิพิธภัณฑ์เป็นลักษณะเป็นคลื่นจึงทำให้ผู้มาเยี่ยมชมสามารถปรับความสมดุลของธรรมชาติที่ขาดหายไปให้กลับมาอีกครั้ง

สุนทรียศาสตร์


สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร ?สุนทรียะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทางตา หู จมูก กายในการรับรู้วัตถุหรือสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น เสียง เมื่อเกิดการรับรู้สมองจะแยกแยะและรับเอาสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดมาเก็บไว้ในคลังสมอง ในขั้นนี้เราจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจ ประทับใจหรือเกิดความรู้สึกต่อสิ่งที่สัมผัสนั้นว่า น่ารัก สวยงาม น่าเสน่ห์ ถ้าคุณเกิดความรู้สึกเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าคุณกำลังเริ่มต้นเกิดความรู้สึกสุนทรียะ สุนทรียเป็นสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินหรือความสะเทือนใจแก่มนุษย์ผู้สัมผัส อาจปรากฏอยู่ในธรรมชาติหรือในผลงานศิลปะที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นก็ได้ เช่น ผลงานทัศนศิลป์ ทั้งที่อยู่ในขอบเขตงานวิจิตรศิลป์และงานประยุกต์ศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง เช่น การฟ้อนรำ บัลเลห์ หมอลำ ลำตัดหรือการแสดงพิ้นบ้านในลักษณะอื่น ๆ การเป็นผู้ที่สามารถรับสัมผัสในสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เราเพลิดเพลินหรือสะเทือนใจได้อย่างรวดเร็วจะสร้างให้เราเป็นคนที่ประณีต ละเอียดอ่อน รู้จักเคารพและศรัทธาในความคิด ความรู้ ศิลธรรม ความดีของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้เราต้องร่ามกันปลูกฝังให้เยาวชนเป็นผู้ที่มีสุนทรียะ หรือที่รู้จักก็คือความงาม เพื่อทำให้โลกมีความสันติสุข ฮยู่กันอย่างสงบ เข้าใจเขาเข้าใจเราและเข้าใจความแตกต่างของความเป็นมนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมสุนทรียะมีจุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ว่าเมื่อรับรู้แล้วเกิดความสุขใจ นั่นคือการเกิดผลทางใจในด้านความสงบนั่นเอง
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างไร ? ในวิชาชีพพยาบาลทุกคนจะได้รับการสอนเสมอว่า วิชาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานกับบุคคลซึ่งอยู่ในภาวะเจ็บป่วยโดยต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการให้การพยาบาล นั่นหมายถึง ผู้ป่วยเป็นบุคคลซึ่งมีจิตใจ มีความรู้สึก กลัวการเจ็บป่วย กลัวการตาย ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพก่อน ต้องรักในวิชาชีพพยาบาลและมีความตั้งใจในการให้การพยาบาล เข้าใจความรู้สึก และเห็นใจผู้ป่วย และให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวลพร้อมกับให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพ มีเหตุและผล ร่วมกับใช้ความรู้ ศาสตร์และศิลป์ควบคู่ไปด้วยกัน และสามารถมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคน พยาบาลทุกท่านต้องทำความเข้าใจและให้การพยาบาลแตกต่างกันออกไป การปฏิบัติงาน และการให้การพยาบาลต่อผู้ป่วยเหล่านั้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือเกิดความภาคภูมิใจและทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง